วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

บทความ



ประเวศ วะสี อ้างใน เจษฎา  นกน้อย ( 2552:2-4 ) การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการอย่างเป็นระบบในการแสวงหาความรู้การแสวงหาความรู้หรือนวัตกรรมเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอันจะก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้เพื่อให้เกิดการแพร่กระจายและไหลเวียนกันทั่วทั้งองค์กรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรการจัดการให้รับรู้ความเป็นจริงสร้างความรู้สังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมกับการใช้งานนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติเรียนรู้และสร้างความรู้จากการปฏิบัติและเอาผลการประเมินมาสู่การเรียนรู้ร่วมกันเพื่อยกระดับปัญญาของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเอาปัญญายกระดับไปใช้ในการปฏิบัติอีก


เจษฎา  นกน้อย. (2552). นานาทรรศนะการจัดการความรู้และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุประภาดา โชติมณี ( 2551:11 ) การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) คือ การบริหารจัดการความรู้ที่ต้องการใช้ ให้แก่คนที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องใช้ เพื่อให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และส่งผลให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนิยาม “ Right Knowledge Right People Right Time”

สุประภาดา โชติมณี. (2551). จัดการความรู้อย่างไรให้ใช้ได้ผลกับทุกระบบกรุงเทพฯ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. 


ประโยชน์ของการจัดการความรู้

 1. ทำให้องค์กรได้ทบทวนองค์ความรู้ขององค์กร (Organization’s Knowledge) ว่าจริงๆแล้ว องค์กรมีความรู้ (ความเก่ง) เรื่องไหน และความรู้นั้นสามารถแข่งกับคนอื่นได้หรือไม่
 2. สามารถกำหนดจุดขายของตนเองได้ชัดเจนขึ้นเช่น เมื่อรู้ว่าองค์กรมีองค์ความรู้ด้านใดก็นำมากำหนดเป็นผลิตภัณฑ์/ บริการหลักขององค์กร
 3. เพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจ เพราะมีข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ขององค์กรที่ถูกต้อง
4.เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานเพราะมีคลังความรู้ที่สามารถดึงความรู้นั้นมาช่วยแก้ปัญหา และทำให้งานประสบผลสำเร็จได้รวดเร็ว และง่ายขึ้น
 5. ทำให้เกิดนวัตกรรม ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์/ บริการ และกระบวนการทำงาน
 6. ทำให้บุคลากรรู้ว่าจะพัฒนาตนเองไปในทิศทางใด และสามารถนำความเก่ง (ในด้านต่างๆ) มาพัฒนาองค์กรให้ถูกทาง

พรรณี สวนเพลง (2552:26) ได้อ้างถึง พรธิดา วิเชียรปัญญา ได้กล่าวว่า การจัดการความรู้ หมายถึงกระบวนการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศความคิดการกระทำตลอดจนประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้และนวัตกรรมและจัดเก็บในลักษณะแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้ โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ ใช้ในการปฏิบัติงานซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์กร

พรรณี  สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้.กรุงเทพ:ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด มหาชน.

สรุป การจัดการความรู้ เป็นการบูรณาการศาสตร์ 2 สาขาเข้าด้วยกัน คือความรู้ และการบริหารการจัดการ โดยเน้นกระบวนการจัดการข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และความรู้ ด้วยการให้ความสำคัญกับบุคคล โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการความรู้ผ่านช่องทางความรู้ต่าง ๆ ดังนั้น กระบวนการจัดการความรู้ จึงต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการจัดการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยผ่านกระบวนการสร้าง รวบรวม สังเคราะห์ แลกเปลี่ยน และใช้ความรู้ความสามารถเชื่อมโยงความคิด 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น